วันอังคารที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2555



Liver cancer
โรคมะเร็งตับเป็นโรคที่เกิดจากเซลล์ของตับกลายเป็นเซลล์มะเร็งมีการแบ่งตัว และแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น ปัจจัยเสี่ยงได้แก่ การดื่มสุรา การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบ
มะเร็งตับคืออะไร
ตับเป็นอวัยวะที่ใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีน้ำหนักโดยประมาณ 2 %ของน้ำหนักตัว ตำแหน่งของตับอยู่ชายโครงขวา แบ่งเป็น 2 กลีบคือกลีบขวา และซ้า ยโดยมีเส้นเลือดมาเลี้ยง 2 เส้นคือ hepatic artery และ portal vein ตับมีหน้าที่สะสมสารอาหาร เช่น น้ำตาล โปรตีน ไขมัน และวิตามินไว้ให้ร่างกายใช้ นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ทำลายของเสีย
ตับยังทำหน้าที่สร้างไข่ขาว Albumin ซึ่งทำทำหน้าที่รักษาความสมดุลของน้ำในเซลล์และเนื้อเยื่อ และยังนำฮอร์โมนไปเนื้อเยื่อ
ชนิดของเนื้องอกตับ
มีทั้งที่เป็นเนื้องอกธรรมดา และเป็นเนื้องอกร้ายท่านผู้อ่านคงต้องจำชื่อโรคไว้เพราะการรักษาต่างกัน
  1. Hemangioma เป็นเนื้องอกที่เกิดจากหลอดเลือด ไม่มีอาการ บางรายมีเลือดออก การรักษาใช้ผ่าตัด
  2. Hepatic adenomas เกิดจากเซลล์ตับรวมกันเป็นก้อน ผู้ป่วยมาด้วยแน่นท้อง หรือคลำได้ก้อนที่ท้อง มักพบในผู้หญิงที่รับประทานยาคุมกำเนิดเป็นเวลานาน การรักษาใช้ผ่าตัดเอาออก
  3.  Focal nodular hyperplasia (FNH) เกิดจากการรวมตัวกันของเซลล์ตับหลายชนิด เช่น เซลล์ของเนื้อตับ เซลล์ของท่อน้ำดี การรักษาผ่าตัดเอาเนื้องอกออก

    สำหรับเนื้องอกที่เป็นมะเร็งมีอยู่ด้วยกัน 4 ชนิดคือ
  1. Angiosarcomas or hemangiosarcomas เกิดจากเซลล์หลอดเลือดในตับพบมากในผู้ป่วยที่สัมผัส vinyl chloride or to thorium dioxide (Thorotrast) สารvinyl chloride เป็นสารเคมีที่ใช้ในงานพลาสติก มะเร็งชนิดนี้พบน้อย แพร่กระจายเร็วส่วนมากผ่าตัดไม่ได้ การรักษาให้เคมีบำบัด
  2. Cholangiocarcinoma เป็นมะเร็งที่เกิดจากเซลล์ของท่อน้ำดี พบได้บ่อยในผู้ป่วยที่อาศัยอยู่ภาคอิสาน ผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อมะเร็งชนิดนี้ได้แก่ ผู้ที่มีพยาธิใบไม้ในตับ นิ่วในถุงน้ำดี มะเร็งนี้พบได้ 13%ของมะเร็งตับ ผู้ป่วยจะมีอาการตัวเหลืองตาเหลือง ตับโต และปวดท้อง เนื่องจากก้อนมีขนาดใหญ่ทำให้ผ่าตัดได้ไม่หมดมักต้องให้เคมีบำบัด และฉายแสงมักจะมีอายุ 6 เดือนหลังการวินิจฉัย
  3. Hepatoblastoma เป็นมะเร็งพบในเด็ก ถ้าพบในระยะเริ่มต้นการผ่าตัดจะได้ผลดี
  4. Hepatocellular carcinoma เป็นมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดเกิดจากเซลล์ของตับ ในบทความนี้จะกล่าวเฉพาะมะเร็งชนิดนี้

ปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งตับมีอะไรบ้าง
 
  1. ไวรัสตับอักเสบ บี และ ซี พบว่าหากเป็นเรื้อรังจะพบว่ามีอัตราการเกิดมะเร็งตับสูง
  2. การได้รับสาร Aflatoxin ซึ่งเป็นสารเคมีที่ผลิตจากเชื้อราที่อยู่ในอาหารพวก ถั่ว แป้งสาลี ถั่วเหลือง ข้าวโพด ข้าว
  3. ตับแข็งจากจาก สุรา ตับอักเสบ เป็นปัจจัยเสี่ยงของมะเร็งตับ
  4. การได้รับสาร vinyl chloride
  5. ยาคุมกำเนิดดังได้กล่าวข้างต้น
  6. ยาฮอร์โมนเพศชาย ที่ใช้รักษาโรคโลหิตจาง หรือการเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ พบว่ามีการเพิ่มความเสี่ยงต่อมะเร็งตับ
  7. สารหนู หากได้รับติดต่อกันก็เพิ่มปัจจัยเสี่ยงต่อมะเร็งตับ
  8. สูบบุหรี่ บางรายงานกล่าวว่าการสูบบุหรี่ทำให้มะเร็งตับเพิ่ม
มะเร็งตับป้องกันได้หรือไม่
มะเร็งตับสามารถป้องกันได้โดยการสาธารณะสุข
  1. แนะนำให้ฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี แก่เด็กทุกราย รวมทั้งให้ความรู้แก่ประชาชนถึงวิธีการติดต่อของไวรัสตับอักเสบ บี และซี
  2. ลดสาร aflatoxin โดยการเน้นการเก็บอาหารให้แห้งเพื่อลดปริมาณ aflatoxin
  3. โรคตับแข็ง โดยการลดการดื่มสุรา
  4. พยาธิใบไม้ในตับ ให้ประชาชนลดการบริโภคอาหารดิบๆ
  5. สารเคมีต่าง ควรมีมาตรการป้องกันทั้งผู้บริโภค และคนงานมิให้ได้รับสารเคมีเหล่านี้
เราสามารถให้การวินิจฉัยโรคมะเร็งตับเมื่อเริ่มเป็นได้หรือไม่
เป็นที่ทราบกันดีว่ามะเร็งในระยะเริ่มต้นหากวินิจฉัยได้ย่อมทำให้โอกาสในการรักษาให้หายขาดมีความเป็นไปได้สูง โรคมะเร็งตับเป็นโรคที่ให้การวินิจฉัยระยะเริ่มแรกได้ช้าเนื่องจากไม่ค่อยมีอาการ เมื่อมีอาการโรคก็เป็นมากแล้ว
การเจาะเลือดหาสาร alfa-fetoprotein ซึ่งถ้าเป็นมะเร็งค่านี้ก็จะสูง ได้มีการเจาะหาค่านี้เพื่อตรวจหามะเร็งแรกเริ่ม ซึ่งหากนำมาหาในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ผู้ป่วยที่มีตับอักเสบเรื้อรัง ก็สามารถให้การวินิจฉัยมะเร็งในระยะแรกเริ่มได้ แต่ก็มีมะเร็งตับบางชนิดไม่สร้าง alfa-fetoprotein
อาการของโรคมะเร็งตับ
ผู้ป่วยโรคมะเร็งตับที่มีอาการโดยมากจะเป็นมาก อาการของโรคมะเร็งตับมีอาการเหทือนกับมะเร็งที่ระบบอื่น อาการต่างๆที่พบได้คือ
  • น้ำหนักลด
  • เบื่ออาหาร
  • จุกเสียดแน่นท้อง
  • ปวดท้องตลอดเวลา
  • ท้องบวมขึ้น หายใจลำบาก
  • ตัวเหลือง ตาเหลือง
  • คลำได้ก้อนที่บริเวณตับ
  • อาการผู้ป่วยทรุดอย่างรวดเร็ว
การวินิจฉัย
แพทย์จะซักประวัติ และตรวจร่างกายแล้วส่งตรวจ
  • ultrasound ใช้คลื่นเสียงผ่านตับเพื่อหาว่ามีก้อนบริเวณตับหรือไม่
  • CT Scan บริเวณตับเพื่อหาก้อน
  • Angiography คือการฉีดสีเข้าเส้นเลือดที่ไปเลี้ยงตับ แพทย์จะทำในบางรายเพื่อวางแผนผ่าตัด
  • Laparoscopy คือส่องกล้องเข้าช่องท้องเพื่อดูว่ามะเร็งแพร่กระจายเข้าท้องหรือยัง เป็นการวางแผนก่อนผ่าตัด
  • Biopsy คือการนำชิ้นเนื้อที่สงสัยส่งตรวจทางพยาธิ วิธีการนำชิ้นเนื้อสามทำได้โดย การใช้เข็มเจาะ หรือการผ่าตัดเอาก้อนเนื้อนั้นส่งตรวจ
  • การเจาะเลือดเพื่อส่งตรวจ alfa-fetoprotein มักเจาะในรายที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็งตับ และเพื่อติดตามการรักษาว่ามะเร็งกลับเป็นซ้ำหรือไม่
การรักษา
การรักษาขึ้นกับชนิดของมะเร็งตับ ขึ้นกับว่าโรคเป็นมากหรือยังโดยทั่วไปมีการรักษาดังต่อไปนี้คือ
  • การผ่าตัด จะทำได้ก็ต่อเมื่อมะเร็งนั้นอยู่เฉพาะที่ตับ และขนาดไม่ใหญ่มาก และที่สำคัญตับต้องไม่มีโรคอื่น เช่นตับแข็ง
  • embolization คือการฉีดสารบางอย่างให้อุดหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงมะเร็งทำให้มะเร็งขาดเลือดเป็นการรักษาในภาวะที่ผู้ป่วยไม่เหมาะในการผ่าตัด
  • การให้เคมีบำบัด เนื่องจากโรคมะเร็งตับมักจะดื้อต่อยาเคมี จึงไม่ค่อยได้ผล
  • การฉายรังสี ไม่ค่อยได้ผลเนื่องจากตับที่ดีมีผลเสียจากรังสี

วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555


มะเร็งปอด
โรคมะเร็งปอดเป็นโรคที่เกิดจากเซลล์ของปอด เช่น เนื้อปอด หลอดลมกลายเป็นเซลล์มะเร็ง โรคมะเร็งปอดเป็นมะเร็งที่พบบ่อย หากตรวจพบเร็วสามารถรักษาให้หายขาดได้
มะเร็งคืออะไร
ร่างกายประกอบด้วยเซลล์เป็นจำนวนมาก ปกติเซลล์จะแบ่งตัวตามความต้องการของร่างกาย เช่น มีการผลิตเม็ดเลือดแดงเพิ่มเมื่อมีการเสียเลือด มีการผลิตเม็ดเลือดข้าวเพิ่มเมื่อมีการติดเชื้อ เป็นต้น แต่มีเซลล์ที่แบ่งตัวโดยที่ร่างกายไม่สามารถควบคุมได้ทำให้เกิดเป็นเนื้องอก ซึ่งแบ่งเป็น Benign และ Malignant
  • Benign tumor คือเนื้องอกที่ไม่ใช่มะเร็งสามารถตัดออกและไม่กลับเป็นใหม่ และที่สำคัญไม่สามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่น
  • Malignant tumor เซลล์จะแบ่งตัวทำลายเนื้อเยื่อและอวัยวะใกล้เคียง ที่สำคัญสามารถแพร่กระจายไปยังอวัยวะอื่นที่อยู่ไกลโดยไปตามกระแสเลือด และน้ำเหลืองเรียกว่า Metastasis
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดมะเร็งปอด ส่วนใหญ่พบร่วมกับการสูบบุหรี่
  • สูบบุหรี่ จำนวนปีที่สูบ อายุที่เริ่มสูบ จำนวนบุหรี่ที่สูบ สูบแต่ละครั้งลึกแค่ไหน ทั้งหมดเป็นปัจจัยที่จะทำให้มีโอกาสเกิดมะเร็งปอด
  • สูบ cigars และ pipes
  • ผู้ที่อยู่ในสิ่งแวดล้อมของผู้สูบบุหรี่
  • สัมผัสสาร Randon เป็นแก็สที่ไม่มีกลิ่น ซึ่งพบได้ตามดินและหิน ผู้ป่วยทีทำงานเหมืองจะมีโอกาสเสี่ยง
  • ใยหิน Asbestos ผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับเหมืองใยหินมีโอกาสเสี่ยงต่อมะเร็งปอด<
  • ควันจากการเผาไหม้น้ำมัน และถ่านหิน
  • โรคปอด โดยเฉพาะวัณโรคมะเร็งจะเกิดบริเวณที่เป็นแผลเป็นวัณโรค<
  • ผู้เคยเป็นมะเร็งปอดจะมีโอกาสเป็นมะเร็งปอดสูงกว่าคนปกติ





อาการของมะเร็งปอด อาการที่พบบ่อยมีดังนี้
  • ไอเป็นมากขึ้นเรื่อย
  • เจ็บแน่นหน้าอก
  • ไอเสมหะมีเลือดปน
  • หายใจเหนื่อย เสียงแหบ
  • เป็นปอดบวมหรือปอดอักเสบบ่อย
  • หน้าและคอบวม
  • อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร น้ำหนักลด
การวินิจฉัย
แพทย์กำลังส่องกล้อง

กล้อง Brochoscope
เมื่อแพทย์สงสัยแพทย์จะซักประวัติครอบครัว ปัจจัยเสี่ยงต่างๆและส่ง x-ray ปอด ส่งเสมหะตรวจหาเซลล์มะเร็ง
 การวินิจฉัยที่แม่นยำที่สุดคือการได้ชิ้นเนื้อไปตรวจทางพยาธิโดยพยาธิแพทย์วิธีการได้ชิ้นเนื้อมีหลายวิธีดังนี้
  1. Brochoscopy คือการส่องกล้องเข้าทางปาก ลงหลอดลม และเข้าปอดเพื่อตัดชิ้นเนื้อ<
  2. Needle aspiration คือใช้เข็มเจาะผ่านผนังทรวงอกเข้าปอด และเข้าเนื้อร้ายแล้วดูดเอาชิ้นเนื้อส่งตรวจ<
  3. Thoracenthesis คือใช้เข็มเจาะน้ำในช่องเยื่อหุ้มปอดส่งตรวจหาเซลล์มะเร็ง
  4. Thoracotomy คือผ่าเข้าในทรวงอกและตัดเนื้อร้ายออก
หลังจากทราบว่าเป็นมะเร็งแพทย์จะทำการตรวจเพิ่มเพื่อจะทราบว่ามะเร็งแพร่กระจายหรือยังโดยการตรวจดังนี้
  • CAT [Computed tomography] เป็นการ x-ray computer เพื่อดูว่ามะเร็งแพร่กระจายหรือยัง
  • MRI [magnetic resonance imaging] ใช้คลื่นแม่เหล็กตรวจ
  • Scan โดยใช้สารอาบรังสีฉีดเข้ากระแสเลือดและวัดรังสีที่อวัยวะนั้น เช่น ตับ กระดูก
  • Mediastinoscopy เป็นการส่องเข้าในช่องอกเพื่อดูว่ามะเร็งแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลืองหรือยัง
การรักษา
  1. การผ่าตัด แพทย์จะผ่าเอาเนื้อร้ายออกบางครั้งอาจต้องตัดปอดออกบางกลีบ lobectomy หรือตัดทั้งปอด pneumectomy
  2. เคมีบำบัด การให้สารเคมีเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง แม้ว่าจะได้รับการผ่าตัดไปแล้วอาจมีมะเร็งบางส่วนหลงเหลือจึงให้เคมีบำบัดเพื่อทำลายส่วนที่เหลือ
  3. รังสีรักษา อาจให้ก่อนผ่าตัดเพื่อลดขนาดของมะเร็ง แพทย์อาจให้เคมีบำบัดร่วมกับรังสีรักษา
  4. Photodynamic therapy โดยการฉีดสารเคมีเข้าเส้นเลือด สารนั้นจะอยู่ที่เซลล์มะเร็งแล้วใช้ laserเพื่อฆ่าเซลล์มะเร็ง
มะเร็งปอดมีกี่ชนิด เราแบ่งเป็นชนิดใหญ่ๆ 2 ชนิด
  1. non-small cell lung cancer พบบ่อย โตช้ามี 3 ชนิด
squamous cell carcinoma
adenocarcinoma

large cell carcinoma
  1. Small cell carcinoma หรือที่เรียก oat cell cancer พบน้อยแต่แพร่กระจายเร็ว
การรักษา non-small cell lung cancer
แพทย์จะเลือกการผ่าตัด และให้รังสีร่วมกับเคมีบำบัดเพื่อหยุดการเจริญเติบโตของเซลล์มะเร็ง
การรักษา small cell lung cancer
แพทย์จะเลือกให้เคมีรักษาร่วมกับการผ่าตัด และอาจให้รังสีรักษาแม้ว่าจะตรวจไม่พบว่ามีการแพร่กระจาย